ประวัติหน่วยความร่วมมือระหว่างประเทศลูเซนต์ (LUCENT International Collaboration)

คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เพื่อให้เป็นไปตามพันธกิจ 6 ด้านของคณะเทคนิคการแพทย์ (พ.ศ.2565) ที่ประกอบไปด้วย

  • ผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฏีบัณฑิตตามหลักสูตรของคณะ
  • วิจัยค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • ให้บริการวิชาการแก่บุคคล สังคมและชุมชน
  • ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและประเทศไทย
  • ร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ เพื่อพัฒนาวิชาชีพ
  • ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรและบริหารทรัพยากรของคณะฯ
img3

ทางกลุ่มคณาจารย์และนักวิจัยของคณะเทคนิคการแพทย์จึงได้ริเริ่มจัดตั้งหน่วยความร่วมมือระหว่างประเทศ (ชื่อภาษาอังกฤษ “LUCENT International Collaboration”)

จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2565 ณ อาคารศูนย์บูรณาการวิชาการเพื่อความเป็นเลิศ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เลขที่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

โดยมี

  • ผศ.ดร.วุฒิชัย คำดวง เป็นหัวหน้าหน่วย
  • Dr. Nicole Ngo-Giang-Huong ผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศสจากสถาบัน Institut de Recherche pour le Développement เป็นที่ปรึกษาของหน่วย
  • ภายใต้การกำกับดูแลของ ศ.ดร. สาคร พรประเสริฐ คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์
wk

ผศ.ดร.วุฒิชัย คำดวง

หัวหน้าหน่วย

nc

Dr. Nicole Ngo-Giang-Huong

ที่ปรึกษาหน่วย

sp

ศ.ดร. สาคร พรประเสริฐ

คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์

ทั้งนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้บรรลุพันธกิจของคณะฯ ที่ตั้งไว้โดยอาศัยองค์ความรู้และประสบการณ์ทางด้านงานวิจัยโรคติดเชื้อและการบริหารจัดการโครงการวิจัยที่สะสมมามากกว่า 20 ปี เป็นความรู้พื้นฐานและพัฒนาต่อยอด

กลยุทธ์

ศักยภาพด้านการวิจัย

  • พิมพ์ผลงานวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลเกี่ยวกับโรคติดเชื้อและเชื้อโรคดื้อยาใน คน สัตว์ หรือสิ่งแวดล้อม
  • จัดทำระบบฐานข้อมูล เฝ้าระวังและใช้คาดการณ์การระบาดในอนาคต

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

  • สนับสนุนและพัฒนาบุคลากรสหวิชาชีพ
  • พัฒนาและเตรียมความพร้อมนักวิจัยสู่ผลงานระดับนานาชาติ
  • เป็นศูนย์ฝึกอบรมสำหรับนักศึกษาหรือผู้สนใจ

สร้างเครือข่ายของชุมชน

  • จัดให้มีระบบสื่อสารและเฝ้าระวังควบคุมการติดเชื้อในชุมชน
  • เตรียมพร้อมรับมือโรคอุบัติใหม่โดยประสานความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยและผู้นำชุมชน
  • สร้างความร่วมมือกับผู้นำชุมชนหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  • ให้ความรู้และบริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทีมพัฒนาของชุมชน
  • สร้างสื่อที่เข้าถึงได้ เข้าใจง่าย และสร้างความตระหนักรู้

การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับชาติและนานาชาติ

  • เป็นศูนย์กลางการประชุมระดับนานาชาติ
  • เป็นผู้จัดงานหรือผู้เข้าร่วมประชุมระดับนานาชาติ
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อ